เมนู

14. ภูริปัญหาชาดก



ว่าด้วยคนไม่ดี 4 จำพวก



[1463] ดูก่อนท่านผู้มีปัญญากว้างขวาง ได้ยินว่า
คำที่ท่านอาจารย์เสนอกล่าวนั้นเป็นความจริง
ท่านเป็นผู้มีปัญญา มีสิริ มีความเพียร มี
ความคิดมั่นคง แม้ท่านเป็นผู้มีปัญญา มีสิริ
มีความเพียรมีความคิดมั่นคงเช่นนั้น ก็ป้อง-
กันความเข้าถึงอำนาจแห่งความฉิบหายไม่ได้
ท่านจึงต้องกินข้าวแดงไม่มีแกง.
[1464] เราทำความสุขเดิมของเราให้เจริญได้
ด้วยความยาก เมื่อพิจารณากาลอันควรและไม่
ควรจึงหลบอยู่ตามความพอใจ เปิดช่องประ-
โยชน์ให้แก่ตน ด้วยเหตุนั้นเราจึงยินดีด้วย
ข้าวแดง.
[1465] ก็เรารู้จักกาลเพื่อกระทำความเพียร ทรง
ประโยชน์ให้เจริญด้วยความรู้ของตน องอาจ

อยู่เหมือนความองอาจแห่งราชสีห์ฉะนั้น ท่าน
จักได้เห็นเราพร้อมด้วยความสำเร็จนั้นอีก.
[1466] ก็บุคคลบางพวก แม้จะมีความสุขก็ไม่
ทำบาป บุคคลอีกพวก 1 ไม่ทำบาป เพราะ
เกรงกลัวต่อการเกี่ยวข้องด้วยความติเตียน
ท่านเป็นคนสามารถมีความคิดว้างขวาง เหตุไร
จึงไม่ทำทุกข์ให้เกิดแก่เรา.
[1467] บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ประพฤติธรรม
อันเป็นบาป เพราะเหตุแห่งความสุขของตน
ถูกทุกข์กระทบแล้ว แม้จะพลาดพลั้งลงไปก็
สงบอยู่ได้ไม่ละทิ้งธรรม เพราะความรักและ
ความชัง.
[1468] บุคคลควรถอนตนผู้เข็ญใจขึ้น ด้วย
เพศที่อ่อนแอ หรือแข็งแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ภายหลังจึงประพฤติธรรม.
[1469] บุคคลนอนหรือนั่งที่ร่มเงาแห่งต้นไม้ใด
ไม่พึงหักก้านกิ่งแห่งต้นไม้นั้น เพราะบุคคลผู้
ประทุษร้ายมิตรเป็นคนชั่วช้า.

[1470] บุรุษรู้แจ้งธรรมแต่สำนักอาจารย์ใด อนึ่ง
การที่สัตบุรุษทั้งหลาย กำจัดความสงสัยของ
บุรุษนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นดังเกาะหรือเป็น
ที่พึ่งพาของบุรุษนั้น คนมีปัญญาไม่พึงละมิตร-
ภาพกับอาจารย์เช่นนั้น.
[1471] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามคุณเป็นคนเกียจ-
คร้านไม่ดี บรรพชิตผู้ไม่สำรวมระวังไม่ดี พระ-
ราชาไม่ทรงพิจารณาเสียก่อนแล้ว ประกอบ
ราชกิจไม่ดี บัณฑิตมักโกรธก็ไม่ดี.
[1472] ข้าแต่พระราชา กษัตริย์ควรพิจารณา
ก่อนแล้ว จึงค่อยประกอบราชกิจ ไม่พิจารณา
ก่อน ไม่ควรประกอบราชกิจ พระยศและ
พระเกียรติ ย่อมเจริญแก่พระราชา ผู้ทรง
พิจารณาเสียก่อน แล้วจึงประกอบราชกิจ.

จบ ภูริปัญหาชาดกที่ 14

อรรถกถาภูริปัญหาชาดกที่ 14



ภูริปัญหาชาดกนี้ มีคำเริ่มกันว่า สจฺจํ กิร ดังนี้ จักมีแจ้ง
ในมหาอุมมังคชาดกแล.
จบ อรรถกถาภูริปัญหาชาดกที่ 14